น่าจะไม่ล้าหลังเกินไปถ้าจะพูดถึงภาพยนตร์ไทยสักเรื่องในปี ๒๕๔๗ อีกครั้งที่ว่าถ่ายทอดวัฒนธรรมได้อย่างดี และให้ความสวยงามอย่างมีคุณค่าแก่วงการ ..ก็คงไม่พ้นเรื่องหนึ่งคนึงอยู่ในใจกับเรื่อง “โหมโรง” (The Overture) ที่ได้กลิ่นอายความเป็นไทยทางด้านดนตรีอย่างชัดเจน
แม้ว่าเรื่องนี้จะออกมาให้ทุกคนได้ชมได้ฟังกันนานแล้ว แต่ผมว่าเรื่องนี้ไม่มีทางตกยุคไปได้ ทั้งหนังเรื่องนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจกับใครหลายๆคนทั้งคนรุ่นใหม่หรือจะมีอายุแล้วก็ตาม แต่วันนี้จริงผมไม่ได้มาพูดพล่ามเรื่องภาพรวมของหนังหรอกนะ ที่จริงแล้วสิ่งที่ผมทำประเด็นวันนี้ก็คือ”เพลงประกอบ” นั่นแหละครับ ความจริงมีหลายเพลงครับในหลายๆฉาก แต่ที่กินใจและสะกดผมเป็นอย่างมาก คงจำฉากนี้ได้ใช่ไหมครับ(สำหรับคนที่เคยดู..) ครูศร หรือ หลวงประดิษฐ์ ไพเราะ เล่นซอในช่วงเช้าตรู่ช่วงพระอาทิตย์กำลังอมแสงแดดอ่อนๆพออุ่น ประกอบกับที่นางเอก(แม่โชติ) เดินในสวนที่มีหญ้าเขียวชะอุ่มเก็บดอกลีลาวดี แต่หัวใจหลักของฉากนี้นอกจากพระเอกและตัวนางเอกแล้วที่ขาดไม่ได้คือ เพลงที่กำลังเล่นคลออยู่นั่นเอง สามารถดึงอารมณ์ของผู้ชมให้หลงไหลเสมือนส่วนหนึ่งของความงามของจุดใดจุดหนึ่งได้ เพลง
“คำหวาน” (น่าเสียดายที่ไม่ทราบชื่อผู้ประพันธ์) ถ้าเราลองหลับตาและให้ทำนองเพลงได้ล่องลอยคงจะได้ภาพจากจินตนาการออกมาได้ดีและสวยใช้ได้เลยแหละผมว่า เพลงนี้คงเพิ่มบรรยากาศกลิ่นอายดิ่นกลิ่นหอมหญ้าให้บล็อกผมดีเลยล่ะ(ฮา) แต่ที่ผมเอามาให้ฟังนี่อาจจะจะมีทั้ง ๒ เวอร์ชั่นแบบในตัวหนังที่ประกบซออู้กับเสียงพิณฮาร์ฟและทั้งแบบคุณพระช่วยแต่รับรองว่าไพเราะแน่นอน เพราะได้ฝีมือจากวงคุณพระช่วยออร์เคสตรามาเป็นประกัน เวอร์ชั่นนี้ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่โดย คุณบุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ ออกมาเป็นดนตรีร่วมสมัยที่ผสมผสานทั้งสากลและดนตรีไทย ด้วยความนุ่มของสุ่มเสียงแม้แต่ลูกเอื้อนและเมโลดี้เปียโน ได้อย่างกลมกล่อมลงตัว
เวอร์ชั่นต้นฉบับจากตัวภาพยนตร์
และ
เวอร์ชั่นคุณพระช่วยออร์เคสตราจากคุณพระบรรเลง
“ไม้ใหญ่จะยืนทะนงต้านแรงลมช้างสานอยู่ได้ก็ด้วยรากที่หยั่งลึกและมั่นคง ..ถ้าไม่ดูแลรักษาไว้ให้ดีจะอยู่รอดกันแบบไหน” : ครูศร
นอมกราบครูบาอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสานวิชาศาสตร์ศิลปะดนตรีให้แก่ตัวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะรักษาไว้ให้ดีตลอดไป
2 ความคิดเห็น:
“ไม้ใหญ่จะยืนทะนงต้านแรงลมช้างสานอยู่ได้ก็ด้วยรากที่หยั่งลึกและมั่นคง ..ถ้าไม่ดูแลรักษาไว้ให้ดีจะอยู่รอดกันแบบไหน” ประโยคสั้นๆ กัดใจ!!
ยังใช้อยู่ได้ทุกยุคอีกด้วย
แสดงความคิดเห็น